อัตลักษณ์

อัตตลักษณ์  อะไร ทำไม ที่ไหน อย่างไร

                สิ่งที่ถูกเรียกว่าอัตตลักษณ์นั้นเป็นเพียงคำที่ต้องการสื่อถึงคำพูดบางประการ เพื่อแสดงความเป็นตัวตนของบุคคล ซึ่งความเป็นตัวตนนั้นเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่แสดงการกระทำออกมาโดยแนวคิดหลักของอัตลักษณ์ก็คือ แนวคิดหลังสมัยใหม่  ซึ่งส่งผลทำให้อัตลักษณ์ของบุคคลมีลักษณะเลื่อไหลได้ตามกระแสวัฒนธรรมทั่วไปหรือกระแสวัฒนธรรมนิยม ที่เป็นบริบทหลักของสังคมที่บุคคลอยู่  ดังนั้นคำว่าอัตลักษณ์จึงอาจหมายรวมถึง เอกลักษณ์ ในรูปความหมายดังเดิมที่เป็นมา  เช่น  เอกลักษณ์ของชาติ  เอกลักษณ์ของนักเรียน   เอกลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นต้น  โดยทั้งนี้คำว่า อัตลักษณ์นั้น หรือ identity จึงเป็นคำที่อยู่ในคาบเกี่ยวของสหวิชาการต่าง ๆ มากมาย ผู้เขียนจึงให้คำนิยามว่า อัตลักษณ์นั้นจึงเป็นอะไรที่ต้องขึ้นอยู่ว่าสถานที่พูดนั้นอยู่ที่ไหน  และใครเป็นผู้พูด  และพูดถึงใคร  และพูดเพื่ออะไร  ในการพูดครั้งนั้นพูดอย่างไรนั่นเอง

            โดยนัยยะที่ผู้เขียนได้สื่อมานั้น  ทำให้เห็นว่าความหลากหลายจึงเกิดขึ้นกับคำนิยามของอัตลักษณ์  ว่าเป็น ปรัชญา  มานุษยวิทยา  รัฐศาสตร์  จิตวิทยา  เป็นต้น  โดยที่สิ่งที่สำคัญสำหรับงานเขียนในชิ้นนี้จะเน้นที่ อัตลักษณ์ในมุมมองของนักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา  ซึ่งมีคำที่เป็นคาบเกี่ยวกับความหมายโดยนัยของอัตลักษณ์ เช่น  ตัวแทน (agency) องค์ตัวแทน (representative) องค์ประธาน(subject , subjectives) ปัจเจกชน (individual) เหล่านี้เป็นต้น  ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วคำต่าง ๆ เหล่านี้พยายามที่จะสื่อสภาพของตัวตนของบุคคลขึ้นมา  โดยอาศัยความเป็นเหมือนกันก็คือ  ความเป็นปัจเจก  และการแสดงออกที่มีนัยสำคัญ  โดยอาจกล่าวได้ว่าเมื่อดูจากภาพรวมแล้ว ศาสตร์แรก ๆ ที่ให้การสนใจในการศึกษาเรื่องของการแสดงออก พฤติกรรมของมนุษย์ก็น่าจะเป็นจิตวิทยา  โดยผู้ที่ให้ความใจในการศึกษาเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจังก็คือ ลูกศิษย์คนสำคัญคนหนึ่งของ ซิกมันด์ ฟรอย  นักจิตวิเคราะห์ นั่นก็คือ  Erik H. Erikson ซึ่งเป็นนักจิตวิเคราะห์เช่นเดียวกับอาจารย์เขาแต่สิ่งที่เขาเห็นแย้งกับฟรอย  ก็คือเรื่องของพัฒนาการทางจิต หรือกระบวนการสร้างบุคลิกภาพหรืออัตลักษณ์นั้นเป็นเรื่องที่เกิดได้ตลอดชีวิต  ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกิดเฉพาะในวัยเด็ก แบบที่ฟรอยอธิบายกระบวนการเกิดอัตลักษณ์นั้น  และอีกประการหนึ่งที่ทำให้แนวคิดของคนทั้งสองไม่สู้จะลงรอยกันอย่างมากในเรื่องของอัตลักษณ์ก็คือ  เรื่องของความเชื่อในคุณค่าของระดับจิต  โดยที่ ฟรอยนั้นให้คุณค่ากับจิตใต้สำนึกมากกว่าส่วนอื่น ๆ แต่ในทัศนะของอิริคสัน เขากับมองว่าส่วนที่สำคัญคือ ego หรือสิ่งที่เราเรียกว่าจิตสำนึกนั่นเอง ซึ่งอาจตีความให้เข้ากับสังคมวิทยาได้ว่า กระบวนการขัดเกลาทางสังคม    ในกระบวนการเหล่านี้อิริคสันอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมมนุษย์โดยอาศัย กฎวิกฤติทางจิตสำนึก  ซึ่งมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ 8 ขั้นตอน 

            เมื่อเราหันมามองในทางสังคมวิทยาเราก็จะเห็นได้ว่ากระบวนการทางจิตที่นักจิตวิทยาจิตวิเคราะห์ได้ให้คำอธิบายนั้น  ไม่เพียงพอกับการอธิบายการเปลี่ยนแปลงในระดับสังคมอย่างที่นักสังคมวิทยาต้องการได้  ดังนั้นนักสังคมวิทยาในยุคต้น ๆ จึงปฏิเสธความเป็นศาสตร์ของจิตวิทยาอย่างสิ้นเชิง  โดยเฉพาะเดอร์ไคม์  ถึงแม้ว่าอิทธิพลของนักสังคมวิทยารุ่นแรก ๆ ในยุคแสงสว่างทางปัญญา (enlightenment) นั้นจะได้รับอิทธิพลอย่างมากจากแนวความคิดปัจเจกชนนิยมที่ได้รับจากสายปรัชญาอยู่ไม่น้อย  แต่ด้วยความมุ่งมั่นในการหาคำอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้นักสังคมวิทยารุ่นแรก ๆ ให้ความสนใจน้อยมากกับเรื่องเฉพาะบุคคล แต่ก็ยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล  แต่ปัจเจกบุคคลเหล่านั้นถูกหล่อหลอมอย่างมีเงื่อนไข เช่น ในส่วนของกองต์มองว่า มนุษย์มีความเป็นปัจเจกบุคคลอยู่แต่สิ่งทีมนุษย์เป็นเกิดจากกระบวนการต่าง ๆ ทางสังคมทำให้มนุษย์เป็นอย่างที่สังคมอยากให้เป็นและเพื่อรักษาดุลย์แห่งสังคมเอาไว้  ส่วนในทัศนะของมาร์กซ์เองแล้ว การเป็นบุคคลนั้นเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตซึ่งเป็นโครงสร้างรากฐานของสังคม  ซึ่งกระบวนการผลิตนี้เองทำให้มนุษย์แยกตัวตนของตนเองออกมาจากความส่วนอื่นของการผลิต  สินค้ากับแรงงานไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกัน  ความรู้สึกขัดแย้งในตนเอง เป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ในแง่ของมาร์กซ์  ส่วนเวเบอร์เอง  การสร้างตัวตนนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลเท่านั้น  ดังนั้นสังคมวิทยาในมุมมองของเวเบอร์ก็ความเป็นศาสตร์ที่ศึกษาจากมุมมองของการสังเกตพฤติกรรมยอมรับความเป็นจิตวิทยาอย่างเต็มที่ผิดกับรุ่นแรก ๆ อย่างกองต์ และเดอร์ไคม์ 

            ดังนั้นจุดเปลี่ยนของแนวคิดในการสร้างตัวตนของบุคคลในทัศนะแบบสังคมวิทยานั้นอาจถือได้ว่าเวเบอร์ได้วางรากฐานไว้พอสมควรโดยการเข้าไปสังเกตบุคลิกของแต่ละศาสนาแต่ละพื้นที่แล้วนำมาเปรียบเทียบในเชิงโครงสร้าง และแบบแผนต่อไป  ซึ่งต่อมาจอร์จ  ซิมเมล ได้กล่าวย้ำในจุดยืนของสังคมวิทยาที่ว่าสังคมวิทยาเป็นส่วนหนึ่งของปัจเจกซึ่งไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และจำเป็นที่จะต้องได้รับการศึกษาควบคู่กัน ดังนั้นบุคคลและสังคม จึงถูกจำแนกได้หลายส่วนในฐานะต่างๆ กันไป 

            ซึ่งต่อมาฐานคิดดังกล่าวนำไปสู่การสร้างทฤษฎีเชิงสัญลักษณ์สัมพันธ์ โดยอัตลักษณ์ได้ปรากฏโฉมชัดเจนยิ่งขึ้นและยังเป็นฐานคิดให้กับนักคิดยุคหลังสมัยใหม่อีกด้วย  อัตลักษณ์ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม  จึงเป็นส่วนที่บรรจบกับระหว่างจิตวิทยากับสังคมวิทยา  โดยที่สังคมวิทยาก็ยังยืนยันในแง่ของสังคมที่เกิดจาปฏิสัมพันธ์นั่นเอง  ความเป็นเราหรือตัวตนของเรา  ถูกสร้างจากความคาดหวังของคนอื่น  และผสมผสานกับการตีความให้เกิดความพึงพอใจ อย่างที่กอฟแมนเรียกทฤษฎีของเขาว่า การแสดงออกเชิงการแสดง  หรือที่ คูลี่เรียกว่า กระจกส่องตน   โดยที่ตัวตนที่แท้จริงอาจเป็นส่วนหลักฉาก  ในขณะที่น่าฉากต้องแสดงตามบทบาทที่สังคมอยากให้แสดงออกไป เช่นนั้น  ดังที่มีดได้กล่าวไว้ในส่วน ของ I และ  Me นั่นเอง แต่ในส่วนของกอฟแมนนั่นยังถูกเพิ่มเติมด้วยกระบวนการทางจิต  กับกระวนการทางสังคม  บุคคลกับสังคม  ภาวะมลทิน  ทั้งหลายเหล่านี้หล่อหลอมบุคคลขึ้นให้มีอัตลักษณ์อย่างหนึ่ง 

            ในด้านมโนทัศน์ทางจิตวิทยานั้น  อัตลักษณ์ อาจเกิดขึ้นได้ในหลายระดับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองของการศึกษาและการให้ความสำคัญในส่วนต่าง ๆ ที่เข้าไปทำการศึกษา  เช่น ในส่วนวัฒนธรรมและบุคลิกภาพ นั้น สิ่งที่สำคัญคือ  นักมานุษยวิทยาสายจิตวิทยา  ซึ่งได้รับอิทธิพลจากแนวคิดทางจิตวิทยาและแนวคิดการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม  โดยที่คนนำในแนวคิดดังกล่าวคือ  รูท เบเนดิกท์ ซึ่งศึกษามนุษย์จากสัณฐานทางวัฒนธรรม  ซึ่งผสมผสานกันกับแนวคิดโครงสร้างหน้าที่  ว่าบุคลิกภาพหนึ่ง ๆ จะเป็นไปตามท้องถิ่นหนึ่ง ๆ เพื่อรับใช้หรือแสดงหน้าที่หนึ่ง ๆ โดยการศึกษาของเขานำการศึกษาเปรียบเทียบกับชนเผ่า อินเดียนแดง เทียบกับพฤติกรรมนั้น ๆ โดยนำเอาชื่อของเทพเจ้ากรีกมาอธิบายพฤติกรรม  ซึ่งต่อมามีนักมานุษยวิทยาในสายเดียวกันให้ทัศนะเพิ่มเติมว่าสิ่งที่เกิดเป็นบุคลิกภาพของบุคคลเกิดจากการเลี้ยงดูในวัยเด็ก    ซึ่งจะสะท้อนบุคลิกภาพเหล่านั้นในทางวัฒนธรรม  พิธีกรรม  ความเชื่อ และสร้างสถาบันทางสังคม เพื่อดำรงสิ่งเหล่านี้ไว้  เช่น โรงเรียน  (ซึ่งมีหน้าที่ ขัดเกลาทางสังคม ให้กับเยาวชน)

            ในขณะเดียวกันก็มีนักคิดอย่างมอส  ออกมากล่าวกว่า  โดยเนื้อแท้แล้วสิ่งที่เรากำลังให้ความสนใจอยู่นั้นเป็นเรื่องของตะวันตกให้คำนิยามขึ้นมา  โดยที่เขาเชื่อในการเป็นเฉพาะที่มากกว่า  ซึ่งเกี๊ยต ก็เป็นนักมานุษยวิทยาอีกคนหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับทัศนะคนใน และการตีความเชิงสัญลักษณ์อย่างมาก  และเขาเองได้ศึกษาการใช้ภาษากับการสร้างตัวตนของบุคคลขึ้น  โดยเขาทำการศึกษาที่สังคมโมร็อคโค  โดยอาจจะบอกได้ว่านักมานุษยวิทยาสนใจกับการศึกษาตัวตนของคนจากวัฒนธรรม และวิถีชีวิตมากกว่าที่จะมาศึกษากลไกของสังคม แต่ก็ยังไม่ละทิ้งการอธิบายในระดับโครงสร้างเอาไว้ด้วย 

            ส่วนอัตลักษณ์ในแง่มุมของแนวคิดหลังสมัยใหม่นั้น เป็นสิ่งที่ได้กล่าวแล้วว่าอิทธิพลสำคัญคือแนวคิดทางทฤษฎีสัญลักษณ์สัมพันธ์  แต่ทัศนะในเรื่องของความตายตัวขององค์ความรู้ในเรื่องอัตลักษณ์ไม่ใช่สิ่งที่ตายตัวและอธิบายได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด  ความเป็นผู้ศึกษา และผู้ถูกศึกษา เป็นส่วนที่สลับกันไปกันมาอยู่ตลอดเวลา  ดังนั้นสิ่งที่เราจะแสดงออกอย่างไรขึ้นอยู่กับวาทกรรมหลักของสังคมในตอนนั้นประกอบด้วย  ซึ่งวาทกรรมคือส่วนที่ถูกสร้างให้เป็นความจริง และความถูกต้องของสังคม  ซึ่งวาทกรรมหนึ่ง ๆ แสดงออกเพื่อปิดทับวาทกรรมอื่น ๆ ไม่ให้ปรากฏออกมาได้  ในที่นี้บริบททางเวลาและสถานที่จึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างวาทกรรม  ดังนั้นอัตลักษณ์ในที่นี้จึงเป็นสิ่งที่ยืดหยุ่นได้ตามสถานะการณ์  สถานที่  โดยนัยนี้ขึ้นอยู่กับความคิด และวาทกรรมหลักของสังคมในช่วงเวลาและพื้นที่ดังกล่าวนั้นเอง

            นั้นอาจจะกล่าวสรุปได้ว่า  อัตลักษณ์เป็นเรื่องที่มีส่วนร่วมกันอยู่ หลายประการ เช่นอัตลักษณ์เป็นเรื่องของปัจเจกคล  อัตลักษณ์เป็นเรื่องของการสร้างจากบริบทเชิงพื้นที่และเวลา  (วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์)  อัตลักษณ์เป็นเรื่องของการให้คำนิยามและตีความ  มีความหมายเชิงคุณค่า  ซึ่งคุณค่าเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องได้รับความเป็นสากล  แต่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมหรือการสร้างตัวตนจากวัฒนธรรมย่อยก็ได้  ทำให้เกิดการยอมรับซึ่งพหุลักษณ์ทางสังคม  ซึ่งไม่เหมือนกับเอกลักษณ์ในคำนิยามสมัยแรกที่จะต้องสร้างเพื่อความเป็นปึกแผ่นของสังคมเท่านั้น  แต่อัตลักษณ์เป็นเรื่องของการยอมรับในการรมีอยู่ของปัจเจกอย่างจริงจัง

5 thoughts on “อัตลักษณ์

  1. เข้ามาเป็นคนแรกเลย…(รึเปล่าคะเนี่ย)
    ยังไม่ได้อ่านที่พี่ต๋องโพสไว้เลยค่ะ
     
    แล้วจะเข้ามาอ่านนะคะ
     
    คิดถึงพี่ต๋องนะ
    ปล.เมื่อวานพี่ปุ๊โทรมาด้วยแหล่ะ^–^

  2. อัตลักษณ์เป็นสภวะที่เรียกว่า นามธรรมสูง สามารภเลื้อนไหลได้ ขึินกับปัจจัยหลายอย่างไม่ว่า จะเป็น สือ ครอบครัว เพื่อน อื่นๆ หาก เป็นอัตลักษณ์ทางชาติและชาติพันธ์ นั้นต้องมองเข้าไปถึงบริบททางประวัติศาสรที่มีส่วนสำคัญในการประกอบสร้างอัตลักษณ์ดั่งกล่าว หิหิหิ มั้ว

  3. อยากได้ข้อมูลเรื่องอัตลักษณ์มากเลยค่ะพอจะกรุณาส่งให้ได้รึเปล่าคือต้องทำรายงานเรื่องนี้ส่ง ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

ใส่ความเห็น